วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์

เมื่อเดินทางมาถึงเป้าหมาย อันเป็นตำแหน่งที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำหรับการเจริญเติบโตแล้ว ภาระกิจในการเกาะยึดกับผนังมดลูกก็เริ่มขึ้น “เจ้าตัวอ่อน” สร้างเนื้อเยื่อที่เรียกว่า “villi” ขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นใยเล็กๆ จำนวนมากเลื้อยผ่านเข้าไปตามช่องว่างของผนัง และเกาะยึดไว้อย่างแน่นหนา ระหว่างนี้ เจ้าตัวอ่อนดูดซึมสารอาหารผ่านเนื้อเยื่อนี้เอง

ดูเหมือนว่า งานของเจ้าตัวอ่อนไม่ได้มีเพียงแค่การสร้างเนื้อเยื่อเพื่อเกาะยึดผนังมดลูก ไว้เท่านั้น สัญชาตญาณแห่งการเอาตัวรอด บอกให้มันรู้ว่า มันจะต้องเร่งสร้างอวัยวะที่มีความคงทนและยืดหยุ่นมากกว่านี้ เจ้าตัวอ่อนได้วางโครงสร้างรูปร่างที่ถาวรของมันขึ้น มันคิดว่าโครงสร้างที่ดีจะต้องมี 3 ส่วน ส่วนที่อยู่ด้านในสุดจะเป็นส่วนที่มีโครงสร้างซับซ้อน มีกระบวนการทำงานที่สำคัญต่อกลไกชีวิต ส่วนต่อมาจะต้องมีความแข็งแรงพอที่จะเป็นเกราะป้องกันภัยให้กับส่วนด้านใน สุด และส่วนสุดท้ายจะอยู่ด้านในสุด และส่วนสุดท้ายจะอยู่ด้านนอกสุด มีไว้สำหรับรับรู้สัมผัสเพื่อเป็นสัญญาณบอกให้อวัยวะด้านในสร้างกระบวนการ ป้องกันตัวได้ทัน

เมื่อได้โครงสร้างที่ดีแล้ว เจ้าตัวอ่อนก็เร่งสร้างเซลล์เล็กๆ ที่เปรียบได้กับอิฐก่อสร้างที่มีชีวิตเซลล์แต่ละตัวที่เจ้าตัวอ่อนสร้างขึ้น มาจะวิ่งไปอยู่ในตำแหน่งตามโครงสร้างที่ได้กำหนดไว้แต่แรกเมื่อไปถึงมันก็จะ เกาะตัวรวมกัน และประสานกันก่อร่างขึ้นเป็นอวัยวะ โดยเริ่มจากส่วนที่มีความสำคัญสุดต่อการดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเองของเจ้า ตัวอ่อน

ส่วนศรีษะ สมอง และระบบประสาท

เนื้อเยื่อตรงส่วนไขสันหลังเริ่มก่อตัวหนาขึ้นเป็นร่องยาวจากหัวไป ถึงก้นภายในร่องยาวระบบประสาทส่วนกลางจะค่อยๆ ก่อตัวขึ้น เมื่อสมบูรณ์แล้ว กระดูกไขสันหลังจะก่อตัวปิดตลอดแนวส่วนด้านบนค่อยๆ แผ่ขยายออกเป็นส่วนสมอง พัฒนาเติบโตขยายไปทั่วศรีษะ ขณะเดียวกัน เซลล์เม็ดสีเล็กๆ ก็เริ่มก่อตัวขึ้นในสมอง เป็นระบบนัยน์ตาที่ซับซ้อน ตรงส่วนหน้าของศรีษะปรากฏจุดสีดำของม่านตา และรูที่จะเจริญขึ้นเป็นปาก จมูก และหู ต่อมรับรสจะเริ่มพัฒนาขึ้น และฟันน้ำนมเรียงตัวอยู่ในปาก เมื่อเทียบกับสัดส่วนร่างกายทั้งหมด ศรีษะจะมีขนาดใหญ่มาก และโค้งเข้าหาหน้าอก นัยน์ตาพัฒนาต่อจนถึงขั้นมีเนื้อเยื่อหนังตาปิด สมองเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ผลิตเซลล์ประสาทประมาณสองแสนกว่าเซลล์ในทุกๆ นาที

หัวใจ หลอดเลือด และอวัยวะภายใน

ส่วนที่นูนขึ้นตรงกลางลำตัวจะเป็นโครงสร้างบริเวณหัวใจ แม้จะยังเป็นเพียงหลอดเล็กๆ ที่ยังแทบมองไม่เห็นห้องของหัวใจ แต่หัวใจดวงน้อยๆ ก็เริ่มต้นนับตั้งแต่เป็นรูปเป็นร่างขึ้น โดยมีอัตราการเต้น 140-150 ครั้งต่อนาที จนกระทั่งปลายเดือนที่สองนี้ จะมีพัฒนาที่สมบูรณ์ และมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้น เส้นเลือดฝังตัวตามตำแหน่งที่เหมาะสม ขณะเดียวกันกระเพาะอาหาร ตับ ม้าม ไส้ติ่ง ลำไส้ และทวารหนัก ก็เริ่มก่อตัวขึ้นจากเป็นกิ่งเล็กๆ และค่อยๆ พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ลำไส้จะยาวขึ้นอย่างรวดเร็วจนพันกันเป็นขด ในเวลาเดียวกันนั้นรกก็เจริญเต็มที่มีสายสะดือขนาดค่อนข้างใญ่เมื่อเทียบกับ ลำตัว ภายในสะดือมีเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำคอยรับเลือดจากรกเป็นทางลำเลียง อาหาร และถ่ายเทของเสีย

ลำตัวและอวัยวะภายนอก

ส่วนลำตัวจะเริ่มตรงและยาวขึ้น ขณะเดียวก็มีปุ่มเล็กๆ งอกออกมาสองข้างลำตัวใกล้กับหัวคู่หนึ่ง ส่วนนี้คือส่วนที่เจริญเติบโตไปเป็นแขนสองข้างซึ่งต่อมาก็จะค่อยๆ แบ่งออกเป็นส่วน คือ หัวไหล่ แขน ข้อศอก มือ และที่ฝ่ามือจะมีลายเส้นขึ้นด้วย อีกคู่หนึ่งอยู่ใกล้กับหางเล็กๆ งอกออกมา กล้ามเนื้อต่างๆ เริ่มพัฒนาขึ้น นิ่วมือ และนิ้วเท้าค่อยๆ แยกตัวจากกัน ส่วนผิวหนังเริ่มมีการแบ่งออกเป็นสองชั้น พร้อมกับมีการสร้างต่อมเหงื่อและต่อมไขมัน และสร้างเซลล์ขุมขนขึ้น

ระบบสืบพันธุ์ และอวัยวะเพศ

แม้ว่าเพศของตัวอ่อนจะถูกกำหนดมาแล้วจากตัวอสุจิที่เข้ามาปฏิสนธิ กับไข่ แต่ใน 7 สัปดาห์แรกหลังการปฏิสนธิ ตัวอ่อนเพศชาย และตัวอ่อนเพศหญิงจะยังมีลักษณะที่คล้ายกันอยู่ จนกระทั่งหลังสัปดาห์ที่ 7 หากตัวอ่อนเป็นทารกเพศชาย ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนจะเริ่มถูกผลิตออกมา อันเป็นจุดเริ่มในการพัฒนาอวัยวะเพศชายต่อไป

ไม่นานนัก เจ้าตัวอ่อนก็มีอวัยวะทุกอย่างครบถ้วน รูปร่างของมันค่อยๆ เปลี่ยนไปจนมีลักษณะเดียวกับทารก บางครั้งมันก็เริ่มขยับแขน ขา เคลื่อนไหวตัวเอง นี่ล่ะ คือผลงานชิ้นโบว์แดงที่เจ้าตัวอ่อนอุตสาหะมาตลอดหนึ่งเดือนเต็ม!


การเปลี่ยนแปลงในตัวคุณแม่

ร่างกาย : มีอาการต่อเนื่องมาจากเดือนที่แล้ว บางรายอาจมีอาการมากขึ้น มีอาการปวดศรีษะเป็นครั้งคราวเป็นลมหมดสติ หรือมีอาการวิงเวียนหน้ามืดบ่อยๆ ไขมันในผมน้อยลง เต้านมขยายใหญ่ และมีอาการคัดเจ็บขึ้นมาเล็กน้อย และมีของเหลวไหลออกมาทางช่องคลอด น้ำหนักตัวเพิ่ม กรามร่น ต่อมไทรอยด์บวม

อาการ : มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด เจ้าอารมณ์ คลางแคลง

การตรวจร่างกาย

เมื่อคุณไปฝากครรภ์ แพทย์จะตรวจร่างกายต่อไปนี้

* น้ำหนัก และความดันโลหิต
* ระดับโปรตีน และน้ำตาลในปัสสาวะ
* ตรวจมือ และเท้า ว่ามีอาการบวมหรือไม่อาการเส้นเลือดขอดที่ขา
* อาการต่างๆ โดยเฉพาะอาการผิดปกติ
* สอบถามเงื่อนไขด้านสุขภาพและด้านอื่นที่เกี่ยวกับภาวะครรภ์

ที่มา

ที่มา.. นิตยสารบันทึกคุณแม่ No.162 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น