วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แพรวา....ผ้าแพรวา


             แพรวา หรือ ผ้าแพรวาเป็นผ้าทอมืออันเป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีลักษณะเช่นเดียวกับผ้าสไบ ที่ใช้กันในหมู่ชาวไทยทั่วไป แต่มีสีสัน ลวดลาย ที่หลากหลายมากมาย และนิยมทอด้วยไหมทั้งผืน นับเป็นผ้าไทยอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้นับความนิยมสูงในหมู่ผู้นิยมผ้าไทยทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ 
              การทอผ้าแพรว่านั้น มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการทอผ้าจก นั่นคือใช้มือจก ยกเส้นด้ายยืน แล้วสอดด้ายสีไปตามลายผ้าที่ต้องการ ชาวผู้ไทยืนยันว่าการทอแพรวาแบบผู้ไทแท้นั้น จะไม่ใช้อุปกรณ์อื่นช่วย ไม่ว่าจะเป็นเข็ม ไม้ หรือขนเม่น นอกจากนี้ยังให้ด้านหลังของลายอยู่ด้านบนของกี่ (การทอแบบจกหลายแห่งก็ทอแบบนี้) ส่วนกี่ทอผ้าแพรวานั้น เท่าที่สำรวจ พบแต่กี่ขนาดใหญ่ ขณะที่ผ้าจกนั้นมีกี่ (ฟืม) ขนาดแคบพอดีกับหน้ากว้างของผ้า (เดิมนั้นชาวผู้ไทคงมีกี่หน้าแคบสำหรับทอแพรวา หรือทอผ้าอื่นๆ แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏกี่หน้าแคบเลย)ลวดลายของแพรวามีลักษณะคล้ายคลึงกับลายขิดอีสานอยู่บ้าง ที่แตกต่างกันก็มี ความหลากหลายของสีสันในแต่ละลวดลายนั้นน้อยกว่าผ้าจกของชาวไทยพวนหรือไทยยวน แต่มีลักษณะรวมกันคือลายหลักมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมแปียกปูน (อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานของลายผ้า)
               ลวดลายของแพรวานั้นมีความหลากหลายพอๆ กับลายผ้าแบบอื่น ขึ้นกับความคิดสร้างสรรค์ของช่างทอนั่นเอง ลานหลักๆ ก็เช่น ลายนาคสี่แขน ช่อขันหมาก ดาวไต่เครือ และมีลายแถบ เช่น ดอกดาวหมู่ ดอกแปดขอ เป็นต้น ในผืนหนึ่งๆ จะลวดลายนับสิบลาย     การเรียงตัวของลายผ้านั้น เนื่องจากแพรวาใช้พาดในแนวตั้ง ลายผ้าจึงไล่ไปทางแนวตั้ง ขณะที่ผ้าจกลายผ้าจะไล่ไปแนวนอน ตามระดับการมอง     ผ้าแพรวาของชาวผู้ไทแต่เดิมนั้น มีโทนสีเป็นสีแดงคล้ำ หรือสีปูน เป็นหลัก เท่าที่สำรวจในแหล่งต่างๆ ไม่เคยเห็นผ้าแพรวาที่เก่ามากๆ เกิน 50-60 ปี เข้าใจว่าถูกซื้อไปจนหมด แม้กระทั่งในพิพิธภัณฑ์หลายที่อีสานก็ไม่มี
ผ้าแพรวาที่ทอในปัจจุบันจึงมีสองลักษณะ คือผ้าหน้าแคบขนาดแพรวาแบบเดิม (ผลิตน้อย) กับขนาดหน้ากว้างประมาณ 1 เมตร สำหรับการตัดเย็บใช้สอยอื่นๆ

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายว่าที่คุณแม่ในเดือนที่ 9 ่

           บริเวณท้องส่วนล่างจะรู้สึกหน่วงมากขึ้น เนื่องมาจากศีรษะของทารกที่เคลื่อนลงต่ำเพื่อเตรียมพร้อมต่อการคลอด จะมีน้ำหนักไปถ่วงบริเวณท้องส่วนล่างมากยิ่งขึ้น

            ตอนนี้คุณแม่เลิกกังวลกับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นได้แล้ว เพราะว่ามันกำลังจะหายไปในไม่ช้า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแบ่งเป็น ส่วนทารก 38% ส่วนของเลือดและของเหลวที่เพิ่มขึ้น 22% ส่วนของมดลูก เต้านม ก้นและขา ที่ขยายใหญ่ขึ้น 20% เป็นน้ำหนักของน้ำคร่ำ 11% และ อีก 9% เป็นน้ำหนักของรก ปากมดลูกจะอ่อนนุ่มขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมที่จะขยายออก หรือเปิดออกให้ทารกเคลื่อนผ่านออกมาได้ ช่องคลอดจะมีการขยายความยาวออกด้วยเช่นกัน เส้นเลือดดำจะมีเลือดมาคั่งอยู่ทำให้บริเวณช่องคลอดมีสีออกม่วงๆ และคุณแม่ก็จะมีตกขาวออกมากขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากปากมดลูกมีการผลิตเยื่อเมือกออกมามากขึ้น คุณแม่ต้องระมัดระวังในการทรงตัวให้มากยิ่งขึ้น เพราะน้ำหนักของหน้าท้องที่มากขึ้นจะทำให้เสียสมดุลของการทรงตัว เป็นสาเหตุให้ปวดหลัง

อายุครรภ์ประมาณ 36 สัปดาห์

             เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 36 สัปดาห์ ทารกจะมีความสมบูรณ์ของร่างกายเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว และจะสามารถมีชีวิตรอดได้หากมีการคลอดก่อนกำหนด โดยอาจไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในหน่วยบริบาลทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลนานนัก เนื่องจากปอดสมบูรณ์เต็มที่แล้ว พร้อมที่จะทำงานเมื่อทารกออกสู่โลกภายนอก


             ในช่วงสี่สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ทารกจะมีการเพิ่มน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็วและมีการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังจะทำให้ทารกดูอ้วน แก้มยุ้ย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมตัวในการรองรับแรงกดที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการคลอดนั่นเอง

              ขนที่ปกคลุมร่างกายอยู่มากมายจะเริ่มหายไป และมีไขมันมาเคลือบผิวหนังอยู่แทน ไขมันเหล่านี้จะช่วยปกป้องผิวที่บอบบางของทารกเอาไว้ ผิวหนังอาจจะลอกและแห้งแตกบ้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า และผิวหนังมักมีสีค่อนข้างซีดเมื่อแรกคลอด

             ใบหน้าเมื่อแรกคลอดจะค่อนข้างกลม และรอบขอบตาอาจดูคล้ำเล็กน้อยซึ่งจะหายไปเองถึงแม้บางคนจะใช้เวลานานถึงหกเดือนก็ตาม

               แขนและขาจะอยู่ในท่างอ นิ้วมือและนิ้วเท้ามีความสมบูรณ์เต็มที่ และนิ้วมือและนิ้วเท้าเล็กๆนั้นจะมีเล็บที่บางและคมซึ่งอาจทำให้ข่วนตัวเองได้ซึ่งคุณอาจจะเห็นรอยข่วนนั้นได้เมื่อทารกคลอดออกมา

              หากเป็นทารกเพศชาย ตอนนี้ลูกอัณฑะจะเคลื่อนลงมาอยู่ในถุงอัณฑะเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะสามารถมองเห็นได้จากการตรวจอัลตร้าซาวน์ สำหรับทารกเพศหญิงจะมีเนื้อเยื้อของเต้านมและหัวนมได้เคลื่อนขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว

ขี้เทาที่อยู่ในลำไส้ของทารกจะทำให้ระบบขับถ่ายเริ่มมีการเคลื่อนไหวและขับถ่ายเป็นครั้งเมื่อทารกออกสู่โลกภายนอก

            ทารกจะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงเมื่อคุณใกล้คลอด แต่ทารกที่อยู่ในสภาวะที่ไม่ดีนักก็จะเคลื่อนไหวน้อยลงเช่นกันเพื่อเก็บพลังงานเอาไว้ ดังนั้นเมื่อคุณตื่นนอนขึ้นในตอนเช้าและก่อนเข้านอน นั่งอยู่บนเตียงสักสามสิบนาทีและนับจำนวนครั้งของการเคลื่อนไหวของทารก หากคุณนับได้จำนวน 5 – 6 ครั้งก็ถือว่าเพียงพอแล้วและคุณก็สบายใจได้ว่ามีความปลอดภัยภายในโลกส่วนตัวเล็กๆนั้น ทารกเคลื่อนไหว 10 ครั้งต่อวันถือว่าปกติดี

             ปอดของทารกนั้นมีการพัฒนาจนสมบูรณ์เต็มที่ มีการผลิตฮอร์โมนบางชนิดออกมาซึ่งช่วยในการพัฒนาความสมบูรณ์ของปอดภายหลังการคลอด

หัวใจของทารกจะเต้นประมาณ 110-150 ครั้งต่อนาที เมื่อทารกคลอดออกมาจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นในระบบไหลเวียนเลือด เมื่อปอดมีการขยายตัวออก ทำให้เลือดมีการไหลผ่านไปยังปอด และเกิดระบบไหลเวียนเลือดที่สมบูรณ์

รกซึ่งให้อาหารและออกซิเจนแก่ทารกมาเป็นเวลานานจะมีความสมบูรณ์เต็มที่เมื่ออายุครรภ์ 34 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเริ่มมีการเสื่อมสภาพลง เมื่อมีการคลอดรกออกมา รกจะมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 6 ของน้ำหนักของทารก

วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันนี้เริ่มต้นเดือนที่ 9 สำหรับการตั้งครรภ์ของทิพย์

เมื่อวานไปพบหมอที่รพ.นวมินทร์ 9 มา น้องในท้องปกติทุกอย่าง  แต่หมอทักน้ำคร่ำน้อยนิดหนึ่งไม่ถือว่าผิดปกติ หมอนัดอีกครั้งวันที่  6  พ.ย. 53 ระหว่างสัปดาห์ที่ 33 - 40 หมอนัด 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง ตอนนี้ญาติตื่นเต้นกันทุกคน  น้องบัญชีที่โรงงานให้ชุดสำหรับน้องผู้หญิงมา 3 ชุด แต่ว่าที่คุณพ่อกับคุณแม่ไม่เตรียมอะไรครับ เตรียมเงินอย่างเดียว ถือแบบโบราณนิดหนึ่ง เพราะคุณพ่อคุณแม่ทั้งผมและทิพย์ ก็โบราณนิดหนึ่ง  แต่เราสองคนก็ตื่นๆเต้นนะครับว่าที่คุณแม่รู้สึกว่าแต่ละวันแต่ละสัปดาห์เร็วมาก นี้ก็เริ่มสัปดาห์ที่ 33 แล้ว วันเสาร์ที่ 30 และอาทิตย์ ที่ 31 ว่าที่คุณแม่ก็ต้องอุ้มท้องไปนั่งสอบ มสธ . ปริญญาตรีใบที่ 2 ของเธอครับ เอาใจช่วยสู้ ๆ ว่าที่คุณแม่เรียนจบเราสองคนตั้งใจเรียนต่อแพทย์แผนไทยด้วยกัน เผื่อนำความรู้มาต่อยอด สมุนไพรทิพย์ ครับ  วันนี้ก็เลยให้ว่าที่คุณแม่พักผ่อนอ่านหนังสือ ผมไปขายของคนเดียวแดดร้อนนะครับตอนนี้ พอฝนหยุดแดดก็ร้อนอากาศเมืองไทย เป็นเช่นนี้แล

วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่่ .....เมื่อถึงเดือนที่ 8 ของการตั้งครรภ์

                   อาการปวดที่รอยต่อของกระดูกเชิงกรานสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อทารกมีขนาดใหญ่และเคลื่อนตัวลงสู่อุ้งเชิงกราน กระดูกรอยต่อ และกล้ามเนื้อที่ยึดมดลูกจะถูกกดดันหรือดึงรั้งทำให้เมื่อเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายจะรู้สึกเจ็บได้


                    ว่าที่คุณแม่จะรู้สึกว่าตัวเองนั้นเคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่วเหมือนก่อน หรือจะเรียกว่าอุ้ยอ้ายก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจะเดินหรือวิ่ง

                    ว่าที่คุณแม่บางคนมักจะมีปัสสาวะเล็ดเมื่อหัวเราะ หรือไอ เป็นอาการปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ร่างกายสร้างออกมามากขึ้นเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อคลายตัว รวมถึงกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะปัสสาวะ

                      ริดสีดวงทวาร แรงกดดันที่ศีรษะของทารกกดลงบนอุ้งเชิงกราน เพิ่มแรงดันในหลอดเลือดดำ ทำให้เกิดเป็นริดสีดวงทวารขึ้นทำให้เจ็บปวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งว่าที่คุณแม่ที่ท้องผูกบ่อยๆมักจะเป็นริดสีดวงทวารได้โดยง่าย บางทีริดสีดวงทวารทำให้เลือดออกได้ อย่าอายที่จะบอกคุณหมอ เพราะเป็นเรื่องธรรมดามากที่จะเกิดริดสีดวงทวารขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ และคุณหมอจะมียาที่ช่วยให้คุณบรรเทาอาการเจ็บปวด พยายามอย่ายืนนานๆจะเพิ่มแรงดันให้เพิ่มมากขึ้น

                    อาการหายใจไม่พอจะมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อเข้าสู่เดือนที่แปดและเก้า ยอดของมดลูกจะอยู่สูงถึงระดับซี่โครงชิ้นล่างสุด และดันกระบังลมของคุณแม่ขึ้นไป ทำให้คุณรู้สึกอึดอัด หายใจไม่สะดวก หรือหายใจไม่พอ ลองหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ แต่ลึกๆ จะช่วยให้ดีขึ้น และไม่มีผลกับการเจริญเติบโตของทารก พยายามยืนหรือนั่งให้หลังตรงอยู่เสมอจะช่วยให้อากาศไหลเข้าสู่ปอดได้มากขึ้น ในเวลานอนมดลูกจะดันกระบังลมขึ้นไปอีก ให้เอาหมอนหลายๆใบหนุนไหล่และศรีษะให้สูงขึ้น หรือนอนท่ากึ่งนอนกึ่งนั่ง จะทำให้คุณหายใจสะดวกและหลับสบายขึ้น

                   คุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าร่างกายของคุณแม่นั้นอ้วนฉุ เนื่องมาจากการบวมขึ้นของอวัยวะต่างๆ ที่มีของเหลวมาสะสมอยู่ เช่น ใบหน้า รอบตา ริมฝีปาก มือ ขา เข่า และเท้า เนื่องจากมีน้ำมาสะสมในเซลล์ไม่ถือเป็นความผิดปกติ ไม่มีความจำเป็นต้องลดเกลือในอาหารลง เพียงแต่หลับพักผ่อนให้มากพอ

พัฒนาการของทารกในครรภ์ เมื่อครบสัปดาห์ที่ 32 ครับ

                     เมื่อจะสิ้นสุดปลายเดือนที่แปดนี้ทารกจะมีความยาวประมาณ 36 เซนติเมตร และหนักประมาณ 3.5 กิโลกรัม ทารกมีการพัฒนารูปร่างและการทำงานของร่างกายไปจนเกือบสมบูรณ์แล้ว จะจะมีชีวิตรอดได้หากคลอดออกมาในเดือนนี้ โดยอาจไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเครื่องช่วยหายใจในหน่วยบริบาลทารกแรกเกิดของโรงพยาบาล เพราะปอดมีความสมบูรณ์มาก แต่ทารกก็ยังมีการสร้างฮอร์โมนขึ้นมาเพื่อช่วยให้ปอดสมบูรณ์มากขึ้น เป็นการเตรียมพร้อมในการหายใจหลังคลอด ในสี่สัปดาห์สุดท้ายก่อนคลอดทารกจะมีการพัฒนาในเรื่องของน้ำหนัก และการสร้างชั้นไขมันใต้ผิวหนังเพื่อป้องกันและรองรับแรงที่จะเกิดขึ้นระหว่างการคลอด


                สมองมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในเดือนนี้ ทารกสามารถเรียนรู้สิ่งที่อยู่ภายนอก ลองคุยกับลูก หรือ เปิดเพลงเบาๆให้ฟัง เพื่อสร้างความคุ้นเคย

                 ใบหน้าของทารก เมื่อคลอดจะมีลักษณะกลมและขอบตาอาจมีสีคล้ำ แต่หลังจากนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและสีผิว

                 แขนขาของทารกนั้นได้มีการพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ และนิ้วมีนิ้วเท้ามีเล็บขึ้นเต็มปลายนิ้วพอดี

                  ขนอ่อนๆตามตัวของทารกนั้นได้หายไปเกือบหมดในเดือนที่แปด แต่บางส่วนก็ยังมีเหลืออยู่ให้เห็นหลังคลอด ผิวหนังของทารกจะมีสีซีด ลอกเป็นขุย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ฝ่ามือทั้งสองข้าง

                  อวัยวะของระบบสืบพันธุ์ในทารกเพศหญิงจะมีเนื้อเยื่อที่จะเจริญไปเป็นเต้านมและหัวนมเริ่มเห็นชัดเจน ในทารกเพศชาย ลูกอัณฑะที่เคยอยู่ในช่องท้องตอนนี้ได้เคลื่อนตัวลงมาอยู่ในถุงอัณฑะเรียบร้อยแล้ว

                   ในเดือนที่แปดนี้จะหมุนตัวกลับเอาศีรษะลงไปสู่เชิงกรานของแม่ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด แต่บางทีก็ไม่เป็นเช่นนั้น คุณหมอสามารถตรวจพบได้จากการตรวจอัลตร้าซาวด์ และคุณสามารถพบว่าส่วนที่แข็งๆและเป็นศีรษะของทารกอยู่บริเวณชายโครง และเท้าเล็กๆถีบลงบนบริเวณท้องส่วนล่างของคุณ หากในเดือนที่เก้าทารกยังคงไม่หมุนศีรษะกลับลงมาสู่อุ้งเชิงกราน การผ่าตัดคลอดก็จะถูกกำหนดขึ้น

น้ำเสียงของว่าที่คุณพ่อมีผลต่อลูกในครรภ์ครับ

              นับอายุครรภ์ของทิพย์ วันเสาร์ที่ 23 ต.ค. 53 จะครบ 32 สัปดาห์ ช่วงนี้ทิพย์บอกว่าน้องดิ้นเก่งมาก ๆ ครับ เริ่มจากแบบเบา ๆๆ ตอนประมาณตี 3 -4 ของทุกวัน และในระหว่างวันแทบจะตลอดเวลา เธอกลัวลูกไม่ได้พักผ่อน แต่เท่าที่เราเรียนมา เด็กทารกในครรภ์เขาน่าจะมีวงจรการนอนหลับของเขาแล้วละนะ  ช่วงนี้ผมกับทิพย์เจอกันอาทิตย์ละ 2 วันเช่นเคย คือวันพุธ กับเย็นวันเสาร์ และวันหยุดของเราที่ทั้งสองคนใฝ่ฝันหา คือวันอาทิตย์ ผมจะได้มีโอกาสพูดคุยกับลูกในท้องของว่าที่คุณแม่   จากที่ทิพย์เขาสังเกตดูวันที่ทิพย์พักที่หอพักของบริษัท ฯ วันที่อยู่คนเดียวลูกจะดิ้นไม่ค่อยมาก  ส่วนเย็นวันพุธ   และเย็นวันเสาร์  อาทิตย์ หลังอาหารเย็นประมาณ 3 เท่าดิ้นไม่หยุดประมาณ 1 ชั่วโมงที่เขาได้อยู่กับว่าที่คุณพ่อ  เทคนิคทักทายลูกในครรภ์พูดคุยกับเขา ผมเล่านิทานให้ลูกฟัง  แล้วใช้มือลูบที่หน้าท้องของว่าที่คุณแม่ แล้ววางมือที่หน้าท้อง น้องเขาจะสัมผัสได้ แล้วจะดิ้นตอบเราช่วงนี้จะสังเกตเห็นหน้าท้องของว่าที่คุณแม่เป็น คลื่น ๆ ๆ ครับ วันไหนที่ลูกดิ้นว่าที่คุณพ่อ คุณแม่มือใหม่อย่างผม หรือ เพื่อน ๆ ท่านอื่นก็คงสบายใจ ครับ
              วันเสาที่จะถึง จะพาว่าที่คุณแม่ไปพบคุณหมอ หมอนัดวันเสาร์ที่ 23 ต.ค. 53  ดีครับไม่ต้องหยุดงาน