วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แพรวา....ผ้าแพรวา


             แพรวา หรือ ผ้าแพรวาเป็นผ้าทอมืออันเป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีลักษณะเช่นเดียวกับผ้าสไบ ที่ใช้กันในหมู่ชาวไทยทั่วไป แต่มีสีสัน ลวดลาย ที่หลากหลายมากมาย และนิยมทอด้วยไหมทั้งผืน นับเป็นผ้าไทยอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้นับความนิยมสูงในหมู่ผู้นิยมผ้าไทยทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ 
              การทอผ้าแพรว่านั้น มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการทอผ้าจก นั่นคือใช้มือจก ยกเส้นด้ายยืน แล้วสอดด้ายสีไปตามลายผ้าที่ต้องการ ชาวผู้ไทยืนยันว่าการทอแพรวาแบบผู้ไทแท้นั้น จะไม่ใช้อุปกรณ์อื่นช่วย ไม่ว่าจะเป็นเข็ม ไม้ หรือขนเม่น นอกจากนี้ยังให้ด้านหลังของลายอยู่ด้านบนของกี่ (การทอแบบจกหลายแห่งก็ทอแบบนี้) ส่วนกี่ทอผ้าแพรวานั้น เท่าที่สำรวจ พบแต่กี่ขนาดใหญ่ ขณะที่ผ้าจกนั้นมีกี่ (ฟืม) ขนาดแคบพอดีกับหน้ากว้างของผ้า (เดิมนั้นชาวผู้ไทคงมีกี่หน้าแคบสำหรับทอแพรวา หรือทอผ้าอื่นๆ แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏกี่หน้าแคบเลย)ลวดลายของแพรวามีลักษณะคล้ายคลึงกับลายขิดอีสานอยู่บ้าง ที่แตกต่างกันก็มี ความหลากหลายของสีสันในแต่ละลวดลายนั้นน้อยกว่าผ้าจกของชาวไทยพวนหรือไทยยวน แต่มีลักษณะรวมกันคือลายหลักมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมแปียกปูน (อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานของลายผ้า)
               ลวดลายของแพรวานั้นมีความหลากหลายพอๆ กับลายผ้าแบบอื่น ขึ้นกับความคิดสร้างสรรค์ของช่างทอนั่นเอง ลานหลักๆ ก็เช่น ลายนาคสี่แขน ช่อขันหมาก ดาวไต่เครือ และมีลายแถบ เช่น ดอกดาวหมู่ ดอกแปดขอ เป็นต้น ในผืนหนึ่งๆ จะลวดลายนับสิบลาย     การเรียงตัวของลายผ้านั้น เนื่องจากแพรวาใช้พาดในแนวตั้ง ลายผ้าจึงไล่ไปทางแนวตั้ง ขณะที่ผ้าจกลายผ้าจะไล่ไปแนวนอน ตามระดับการมอง     ผ้าแพรวาของชาวผู้ไทแต่เดิมนั้น มีโทนสีเป็นสีแดงคล้ำ หรือสีปูน เป็นหลัก เท่าที่สำรวจในแหล่งต่างๆ ไม่เคยเห็นผ้าแพรวาที่เก่ามากๆ เกิน 50-60 ปี เข้าใจว่าถูกซื้อไปจนหมด แม้กระทั่งในพิพิธภัณฑ์หลายที่อีสานก็ไม่มี
ผ้าแพรวาที่ทอในปัจจุบันจึงมีสองลักษณะ คือผ้าหน้าแคบขนาดแพรวาแบบเดิม (ผลิตน้อย) กับขนาดหน้ากว้างประมาณ 1 เมตร สำหรับการตัดเย็บใช้สอยอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น